ควายสิ่งมีชีวิต
กลางท้องทุ่งนา ที่ดูเหมือนจะถูกลืมคุณ |
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่คู่กับวิถีชาวนาไทยมาแต่โบราณนานแสนนาน เป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนรู้ สามารถสอนให้ทำงานได้ รับใช้แรงงานอย่างซื่อสัคย์ ที่ไหนมีท้องนาที่นั้นมีควาย ที่ไหนมีข้าว ที่นั้นก็ต้องมีควาย ชาวนาไทยขาดควายไม่ได้ เพราะควายเป็นเครื่องทุ่นแรงที่ช่วยชาวนาไถนา คราดนา ขยันและอดทน เป็นสัตว์ที่มีคุณประโยชน์ตั้งแต่มีชีวิตจนตัวตาย |
|
|
|
ควายเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีบุญคุณคู่กับชาวนามาแต่อดีด ข้าวทุกๆ เมล็ดที่คนไทยในอดีดเคยได้กินกัน เป็นหยาดเหงื่อและแรงงานจากคู่ทรหดชาวนาและควาย งานหนักๆ ในแปลงนาเช่น การไถนา การคราดนา จำเป็นต้องพึ่งแรงงานจากควาย สองคู่หูเพื่อนตายชาวนากับควาย ต่างช่วยต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน แต่ดูเหมือนทุกสิ่งทุกอย่างผู้ให้จะเป็นควายสัตว์เลี้ยงเสียส่วนใหญ่ สิ่งตอบแทนที่ควายได้กลับคืนก็เห็นจะมีเพียงแค่อาหาร ซึ่งเป็นหญ้าที่ขึ้นอยู่ทุกหนทุกแห่ง และที่หลับที่นอนยามค่ำคืน
|
|
|
|
|
|
สัตว์สัญลักษณ์แห่งคุณความดี หรือเป็นควายผู้โง่เขลา |
|
ตลอดช่วงอายุชีวิตของควาย นอกจากจะเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานหนักในไร่นาแล้ว ทุกๆ สิ่งที่เกี่ยวกับวงจรชีวิตความเป็นอยู่ของควาย เป็นสัตว์ที่มีแต่ให้ ยามมีชีวิตก็ให้แรงงาน เป็นพาหนะเดินทาง เป็นสัตว์เลี้ยงเพือนคลายเหงา แม้แต่มูลก็ใช้เป็นปุ๋ยสำหรับพืชอย่างดี ควายบางสายพันธุ์ให้น้ำนมมาก เป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีสำหรับมนุษย์ เมื่อถึงเวลาสิ้นชีวิต เนื้อก็กลายเป็นอาหาร หนังใช้เป็นเครื่องนุ่งหม่ เครื่องใช้ต่างๆ เขาและกระดูกยังใช้เป็นเครื่องประดับ เรียกได้ว่าหมดเนื้อหมดตัวของควายมีประโยชน์ทุกส่วน จากการวิจัยควายมีมันสมองมากกว่าวัว สามารถนำมาสอนการเรียนรู้ได้ จนควายกับเจ้าของที่เลี้ยงมีความผูกพันกัน เมื่อถึงคราวต้องแยกจากกันทั้งคนทั้งควายมักต้องหลั่งน้ำตาให้กันและกันเสมอ แต่ก็น่าแปลกที่มนุษย์คนไทยเรามักจะด่าเปรียบเปรยพูดกระทบกระแทกกันว่า "โง่เหมือนควาย"
|
|
|
|
|
|
สายพันธุ์ ของควาย |
|
ควายเป็นคำที่ใช้เลือกโดยทั่วไป ภาษาทางราชการจะเรียกควายว่า กระบือ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลูกควายจะกินนมแม่จนอายุประมาณ 1 ปี 6 เดือน ควายจะเจริญเติบโตใช้แรงงานได้ระหว่างอายุ 2.5-3 ปี ช่วงที่ใช้งานได้เต็มที่ คือระหว่างอายุ 6-9 ปี ควายแต่ละตัวจะใช้งานได้จนอายุย่างเข้า 20 ปี อายุควายโดยทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 25 ปี ควายเป็นสัตว์มีสี่ขา เท้าเป็นกีบ ตัวขนาดใกล้เคียงกับวัวโตเต็มวัยเมื่ออายุระหว่าง 5-8 ปี น้ำหนักตัวผู้โตเต็มวัยโดยเฉลี่ย 520-560 กิโลกรัม ตัวเมียเฉลี่ยประมาณ 360-440 กิโลกรัม ตัวผู้จะใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย มีผิวสีเทาถึงดำ (บางตัวมีสีชมพู เรียกว่า ควายเผือก) มีเขาเป็นลักษณะเด่นเฉพาะตัว ปลายเขาโค้งเป็นวงคล้ายพระจันทร์เสี้ยว |
|
|
|
|
|
สายพันธุ์ของควายแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือควายบ้าน และควายป่า ควายป่ามีรูปร่างคล้ายควายบ้าน แต่ตัวใหญ่กว่ามาก หนักได้ถึง 800-1,200 กิโลกรัมในขณะที่ควายบ้านมักหนักไม่ถึง 500 กิโลกรัม ลำตัวยาว 2.4-3 เมตร แข็งแรง มีวงเขากว้างได้ถึงกว่าสองเมตร กว้างที่สุดในบรรดาสัตว์จำพวกวัวควายทั้งหมด สีลำตัวดำ หรือเทาเข้ม ขาทั้งสี่สีขาวหรือสีเทาเหมือนใส่ถุงเท้า ที่หน้าอกมีเสี้ยวแบบพระจันทร์เสี้ยวสีขาวเหมือนใส่สร้อยคอ ควายป่ามีนิสัยดุร้าย แม้จะมีขนาดใหญ่โตแต่ก็ปราดเปรียวมาก ชอบอาศัยอยู่ในป่าโปร่ง ทุ่งหญ้าที่ชื้นแฉะ กินหญ้าและพืชในน้ำเป็นอาหาร หากินเวลาเช้าและเย็น เวลากลางวันจะนอนในพุ่มไม้ที่รกทึบ หรือนอนแช่ปลัก บางครั้งอาจมุดหายไปในปลักทั้งตัวโดยโผล่จมูกขึ้นมาเท่านั้น การแช่ปลักนอกจากช่วยระบายความร้อนแล้ว ยังช่วยกำจัดแมลงรบกวนตามผิวหนังได้อีกด้วย |
|
|
|
ควายป่า ในอุทยานแห่งชาติ มีลักษณะตัวใหญ่กว่าควายบ้าน |
|
|
ควายป่าอาศัยกันเป็นฝูงโดยมีสมาชิกในฝูงเป็นตัวเมียและควายเด็ก มีตัวเมียเป็นจ่าฝูง ส่วนควายหนุ่มที่ไม่ได้ร่วมฝูงตัวเมียก็หากินโดยลำพัง หรืออาจรวมกลุ่มกันเป็นฝูงควายหนุ่มราวสิบตัว ในฤดูผสมพันธุ์จะอาศัยรวมฝูงกับตัวเมีย ควายหนุ่มจะมีการประลองกำลังกันเพื่อชิงสิทธิ์ในการครอบครองตัวเมีย แต่การต่อสู้นี้มักไม่ดุเดือดรุนแรงมากนัก ในฤดูฝน ควายป่าตัวผู้จะเริ่มเข้าฝูงตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ แต่ไม่ได้มาครอบครองฝูงหรือตัวเมียตัวใด ตัวเมียจะติดสัดเป็นเวลา 11 จนถึง 72 ชั่วโมง ควายตัวผู้จะตรวจสอบความพร้อมของตัวเมียด้วยการดมปัสสาวะและก้น หลังจากผสมพันธุ์เสร็จแล้วตัวผู้จะถูกขับออกจากฝูง แม่ควายป่าตั้งท้องนาน 300-340 วัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ลูกควายหย่านมได้เมื่ออายุ 6-9 เดือน พออายุได้ 18 เดือนก็เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ปัจจุบันในประเทศไทยเหลือควายป่าอยู่เพียง 40 - 50 ตัว ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเท่านั้น |
|
|
|
ควายป่า ในอุทยานแห่งชาติ มีลักษณะตัวใหญ่กว่าควายบ้าน |
|
|
ควายบ้านยังถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือควายปลัก (Swamp buffalo) และควายแม่น้ำ (River buffalo) ทั้งสองสายพันธุ์มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันทางสรีระวิทยา รูปร่าง อย่างเห็นได้ชัดเจน ควายปลักเลี้ยงกันในประเทศไทย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า กัมพูชา และลาว เลี้ยงเพื่อใช้แรงงานในไร่นา เพื่อปลูกข้าวและทำไร่ และเมื่อควายอายุมากขึ้นก็จะส่งเข้าโรงฆ่าเพื่อใช้เนื้อเป็นอาหาร ควายปลักชอบนอนแช่ปลัก มีรูปร่างล่ำสัน ผิวหนังมีสีเทาเข้มเกือบดำอาจมีสีขาวเผือก มีขนเล็กน้อย ลำตัวหนาลึก ท้องใหญ่ หัวยาวแคบ เขามีลักษณะแบบโค้งไปข้างหลัง หน้าสั้น หน้าผากแบบราบ ตานูนเด่นชัด ช่วงระหว่างรูจมูกทั้งสองข้างกว้าง คอยาวและบริเวณใต้คอจะมีขนขาวเป็นรูปตัววี หัวไหล่และอกนูนเห็นชัดเจน |
|
|
|
|
|
ควายแม่น้ำพบในประเทศอินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ประเทศในยุโรปตอนใต้และยุโรปตะวันออก ให้นมมากและเลี้ยงไว้เพื่อรีดนม ไม่ชอบลงแช่โคลน แต่จะชอบน้ำสะอาด มีหลายสายพันธุ์ เช่น พันธุ์มูร่าห์ พันธุ์นิลิ ราวี พันธุ์เมซานี พันธุ์เซอติ และพันธุ์เมดิเตอเรเนียน เป็นต้น ควายแม่น้ำจะมีขนาดใหญ่ รูปร่างแข็งแรง ลักษณะทั่วไปจะมีผิวหนังสีดำ หัวสั้น หน้าผากนูน เขาสั้น และบิดม้วนงอ ส่วนลำตัวจะลึกมาก มีขนาดเต้านมใหญ่ |
|
|
|
ควายพันธุ์ให้น้ำนม สายพันธุ์มูร่าห์ จากประเทศอินเดีย |
|
|
ปัจจุบันประเทศไทยมีการนำเข้าควายสายพันธุ์มูร่าห์มาจากประเทศอินเดีย เพื่อนำมารีดน้ำนมเพื่อขายเป็นการค้า และยังแปรรูปนมควายเป็นสินค้าอีกหลายอย่าง เช่น ชีสมอซซาเรลล่า ชีสรีคอตต้า โยเกิร์ต สบู่นมควาย เป็นต้น โดนมีการจัดการการเลี้ยงเป็นแบบฟาร์มและแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชื่อมูร่าห์ฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งถือเป็นฟาร์มควายแห่งแรกในประเทศไทย ที่สามารถนำควายมาเลี้ยงเพื่อทำเป็นธุรกิจอย่างจริงจัง |
|
|
|
ควายพันธุ์ให้น้ำนม สายพันธุ์มูร่าห์ จากประเทศอินเดีย |
|
|
คุณค่าของควาย กับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน |
|
สังคมไทยในปัจจุบันแทบจะลืมเลียนวิถีชีวิตเดิมๆ ของชาวนากับควายไปจนหมดสิ้น แม้แต่ชาวนาเองก้ยังไม่สามารถใช้ควายมาทำงานได้เป็น เนื่องจากมีเครื่องจักร รถไถเดินตาม รถแทรคเตอร์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ควายเหล็ก" เข้ามาทำงานแทนที่ควายจริง ซึ่งทำให้ชาวนาทำนาทำไร่ได้เร็วกว่าเดิมมาก แต่ก็ทำให้ต้นทุนในการทำนาทำไร่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว เพราะควายเหล็กกินแต่น้ำมัน ขับถ่ายออกมาเป็นควันสารพิษทำลายชั้นบรรยากาศ ชาวนาไม่มีควายที่คอยเล็มหญ้าในแปลง ไม่มีมูลควายไว้ทำเป็นปุ๋ย จึงต้องหันมาพึ่งพาปุ๋ยเคมีแทน เมื่อพืชผักอ่อนแอ่ต่อโรคแมลงก็ใช้สารเคมีกำจัด หญ้ารกก็พ่นด้วยยาฆ่าหญ้า สิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ มีแต่สารพิษ อากาศในชนบท ที่เคยหายใจได้สดชื่นเต็มปอด ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี ส่งผลกระทบไปถึงคนเมื่องที่ต้องบริโภคพืชผักปนเปื้อนไปด้วยสารพิษ ทำให้ผู้บริโภคและเกษตรกรผู้ผลิตเกิดโรคภัยแปลกๆ ขึ้นมาคาดชีวิตอันก่อนวัย ส่วนความสำคัญของควายก็ลดบทบาทลง เหลือเพียง เป็นสัตว์เลี้ยงเร่ร่อนกลางท้องทุ่งนาที่ถูกลืมคุณ ผู้เลี้ยงเลี้ยงเพียงเพื่อให้ได้กำไรสำหรับขายให้กับโรงฆ่าสัตว์ เพื่อเป็นอาหารของมนุษย์เท่านั้นเอง |
|
|
|
|
|
ควายสัตว์เลี้ยง ที่กำลังใกล้จะสูญพันธุ์ |
|
ปัจจุบันมีควายบ้านที่ถูกเลี้ยงอยู่ทั่วประเทศเพียง 1 ล้านกว่าตัวเท่านั้นเอง เพราะถึงแม้จะมีการเลี้ยงเพื่อขายเป็นเนื้อ แต่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็นิยมกินเนื้อหมู เนื้อไก่ มากกว่า ส่วนควายป่าที่ทำการสำรวจ ก็เหลือรอดอยู่เพียง 40-50 ตัว ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง. อุทยานแห่งชาติแห่งเดียวในประเทศไทย คาดว่าในอนาคตอันใกล้ควายไทยคงจะสูญพันธุ์หาดูได้ยาก เด็กไทยเราคงจะไม่รู้จักว่าควายตัวจริงๆ มีรูปร่างเช่นไร หากพวกเราชาวไทยไม่ช่วยกันอนุรักษ์รักษากันไว้ |
|
|
|
|
|
โรงเรียนสอนควาย แทนชาวนา |
|
ในอดีดชาวนาที่จะต้องใช้แรงงานจากควายมาช่วย ไถนา คราดนา หรือเป็นพาหนะ เพื่อเป็นเครื่องทุนแรงในไร่นาได้นั้น จะต้องนำควายที่ได้มานั้น มาทำการฝึกสอนใช้งาน จนกระทั่งควายและเจ้าของคุ้นเคยนิสัยซึ่งกันและกัน สามารถทำงานร่วมกันและสื่อสารกันรู้เรื่อง ชาวนามักจะเป็นทั้งครูฝึกและผู้ใช้งาน จะต้องใช้ทั้งทักษะการพูดออกคำสั่ง การกระตุกเชือก การเมียนตี เพื่อให้ควายทำตามสิ่งที่ต้องการ แต่ผลที่สุดทั้งคนทั้งควายก็จะมีความผูกพันต่อกัน รู้นิสัยซึ่งกันและกัน จนยากที่จะเข้าใจได้ |
|
|
|
|
|
โรงเรียนกาสรกสิวิทย์ จังหวัดสระแก้วเป็นหนึ่งในโครงการของมูลนิธิชัยพัฒนา ในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีให้จัดทำโครงการ อนุรักษ์และพัฒนากระบือไทยในพื้นที่ของมูลนิธิชัยพัฒนา จุดประสงค์ของโรงเรียนแห่งนี้คือ การฝึกสอนให้กระบือสามารถทำนา ทำการเกษตรได้จริง เนื่องจากทุกวันนี้ชาวนาต่างหันไปใช้รถไถในการทำนาแทน ส่วนกระบือที่ชาวนามีอยู่มาตั้งแต่ดั้งเดิมนั้นกลายเป็นสัตว์เลี้ยงประจำบ้านเฉยๆ ไม่สามารถเป็นสัตว์ใช้งานได้จริงเหมือนเช่นในสมัยก่อน |
|
|
|
|
|
สำหรับกระบือที่เข้ามาฝึกในโรงเรียนแห่งนี้ เกษตรกรจะต้องได้มาจากธนาคารโคและกระบือ ต้องเป็นลูกกระบือที่มีอายุประมาณ 2 ปี เนื่องจากอายุช่วงนี้อยู่ในวัยที่สามารถสอนได้และจดจำได้ดี ในการนำกระบือมาเข้าโรงเรียนนั้นจะต้องติดต่อกับกรมปศุสัตว์จังหวัดและต้องมีผู้ฝึกกระบือมาด้วย เพราะว่าการฝึกจะต้องฝึกคนเพื่อให้สั่งงานกระบือได้ เรียกว่าต้องมาเรียนพร้อมกันทั้งกระบือและคน ในการเข้าโรงเรียนจะต้องมาเรียนประมาณ 10-15 วัน ที่นี่มีที่พักให้ทั้งผู้ฝึกและกระบือที่มาเข้าโรงเรียน |
|
|
|
|
|
วิชาที่สอนของโรงเรียนนี้ ในช่วงสองวันแรกจะเป็นช่วงเวลาที่ปล่อยให้กระบือคุ้นเคยกับสถานที่และพักเหนื่อยจากการเดินทาง ส่วนวันต่อๆ ไปก็จะฝึกให้รู้จักการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น คันไถ แอก และคราด ในการมาโรงเรียนครั้งแรกแต่ละตัวอาจจะมีความตื่นเต้นต่างกันไป บางตัวไม่ยอมเดินตามแถว บางตัวก็กลัวเสียงของเครื่องมือที่ผูกไว้ด้านหลังเลยพากันวิ่งหนี แต่โชคดีที่โรงเรียนแห่งนี้มีพี่เลี้ยงหนึ่งตัว ชื่อ "แม็ค" เป็นสุนัขพันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ขนสั้น คอยวิ่งต้อนไม่ให้นักเรียนกระบือออกนอกแถว ภาพที่น่ารักอีกภาพคือ ขณะที่นักเรียนกระบือกำลังเรียนการไถกลับหน้าดินอยู่นั้น พี่เลี้ยงแม็คก็ลงไปวิ่งอยู่ในนาเหมือนกัน โคลนเลอะทั่วทั้งตัวไม่ได้ต่างกันทั้งนักเรียนและพี่เลี้ยง |
|
|
|
|
|
ปีนี้ที่ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ แล้งเหมือนทุกๆ ที่ มีฝนตกลงมาบ้างประปราย แต่ไม่พอที่จะทำการเกษตรได้ แต่หญ้ากับแข่งกันขึ้น เจริญงอกงาม โดยไม่ต้องพึ่งปุ๋ยพึ่งยาเลย ที่ไร่พอใจ เราทำเกษตรแบบอินทรีย์ในแบบพึ่งพิงธรรมชาติ ใช้แต่ปุ๋ยหมักจากมูลสัตว์ ยาฆ่าหญ้าก็ไม่ได้ฉีดพ่น ใช้วิธีการตัดแทน โชคดีที่มีเพื่อนบ้านเลี้ยงควายอยู่หลาย 10 ตัว เลยให้ปล่อยเป็นเครื่องตัดหญ้าในนาแทน แถมได้ปุ๋ยขี้ควายสดๆ เต็มท้องนา ควายก็ได้หญ้าอินทรีย์ไปตอบแทน วินวินทั้งคู่ครับ |
|
|
รวมรูป ควาย สิ่งมีชีวิตที่ถูกลืมคุณ |
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|