สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
กับการเกษตรอินทรีย์
การเกษตรเพื่อความยั่งยืน
|
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากร ปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี นั้น ใครได้เข้าเฝ้าฯ พระองค์ท่านเป็นอันว่ารักท่านทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศ แม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าก็ยกย่องท่านว่าเป็นปราชญ์ เป็นบัณฑิต พระองค์ท่านได้ให้ความสำคัญกับการทำเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง ยึดหลักตามธรรมชาติ ทรงดำริริเริ่มและสานต่อโครงการพระราชดำริต่างๆ ของในหลวงมากมาย ที่สำคัญทรงเป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย เป็นไปตามวิถีธรรมชาติ |
|
|
|
สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงมีพระสหายมาก ศิษย์มาก ใครไม่กล้านับตนเป็นพระสหายหรือศิษย์แต่ก็ทรงนับด้วย เรียกว่าทรงเข้าถึงคนทั้งหลาย เสด็จที่ไหนเขาฟ้อนก็ทรงฟ้อนด้วย เขารำก็ทรงรำด้วย เขากินอาหารพื้นเมืองอย่างไรก็เสวยอย่างนั้น ทั้งยังทรงเอาพระทัยใส่ไปถึงพ่อแม่พี่น้อง ลูกหลาน และวงศาคณาญาติของเพื่อน ครู และข้าราชบริพาร แม้แต่กับราษฎรทั่วไปที่ทรงพบครั้งแรกก็จะตรัสทักทายอย่างเป็นกันเอง ไม่ถือพระองค์ ถ้าไม่ตรัสถามถึงชีวิตความเป็นอยู่ อาการเจ็บไข้ได้ป่วย วิธีทำข้าวปลาอาหาร ศิลปหัตถกรรม จนกลายเป็นพระราชปฏิสันถารยาวนานและไม่รู้เบื่อ ก็จะทรงเล่าเรื่องของพระองค์เองว่าเสด็จไปไหนมา ทอดพระเนตรเห็นอะไร ที่โน่นเขาทำอย่างนี้แล้วที่นี่ทำอย่างไร สีพระพักตร์ พระสุรเสียง เรื่องที่ทรงเล่า พระอากัปกิริยา สายพระเนตรล้วนตรึงให้ทุกคนสนุก ได้ความรู้ ได้คิด และปีติทั้งสิ้น เพราะทรงมีทั้งความรู้ พระอารมณ์ขัน และความจริงใจ เรียกว่าทรงเข้าถึงทุกคนและทรงเปิดให้ทุกคนเข้าถึงพระองค์ได้ คำว่า ทรงน่ารักจริง ๆ คือคำที่ติดปากชาวไทยทุกรูปทุกนาม
|
|
|
|
|
มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อช่วยพัฒนาประเทศ และส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ |
|
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้ง "มูลนิธิชัยพัฒนา" โดย ทรงดำรงตำแหน่งเป็นนายกกิตติมศักดิ์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธาน เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิชัยพัฒนาเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น
|
|
|
|
|
|
ภายในมูลนิธิชัยพัฒนา นอกจากจะมีโครงการต่างๆ เพื่อช่วยส่งเสริมและพัฒนาประเทศ ในอีกด้านหนึ่งยังมีโครงการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชน ให้อยู่ดีกินดี มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรง โดยสมเด็จฟ้าเทพฯ ท่านได้เล็งเห็นถึงการทำการเกษตรแบบอินทรีย์ เป็นการเกษตรที่พึ่งพิงธรรมชาติ ปลอดภัยจากสารเคมี และมีอนาคตที่ยั่งยืน และได้ทรงส่งเสริมและโปรดให้จัดทำแปลงสาธิต การทำข้าวอินทรีย์ ขึ้นในหลายจังหวัด เพื่อเป็นตัวอย่าง ให้กับเกษตรกรเข้ามาเรียนรู้การปลูกข้าวแบบชีววิธี โดยใช้พันธุ์ข้าวหอมประทุม ซึ่งภายหลังพระองค์ท่านได้ทำการทดลองปลูกพันธุ์ข้าวเพื่อทำการคัดเลือกสายพันธุ์ที่มูลนิธิข้าวขวัญ จนได้สายพันธุ์ข้าวหอมประทุม ที่บริสุทธิ์ แตกกอได้มาก ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ดีขึ้น จนได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ทางมูลนิธิข้าวขวัญจึงให้ชื่อข้าวพันธุ์นี้ว่า "ข้าวหอมประทุมเทพ" |
|
|
|
|
|
ภายหลังต่อมาพระองค์ท่าน ได้มีพระราชดำริ ให้สร้างโรงสีข้าวชัยพัฒนาขึ้น เพื่อทำการสีข้าวอินทรีย์จากแปลงสาธิตและจากแปลงของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ โรงสีข้าวชัยพัฒนาแห่งนี้ ถือเป็นโรงสีข้าวตัวอย่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ใช้ผลผลิตได้อย่างคุ้มค่า เป็นโรงสีที่มีกระบวนการจัดการไม่ให้มีของเสียเกิดขึ้นในขบวนการผลิตเลย ทุกส่วนของข้าวที่สีผ่านที่โรงสี จะนำไปใช้ประโยนช์ได้ทั้งหมด แม้แต่แกลบก็สามารถนำมาผ่านขบวนการแก๊สซิฟิเคชั่น (gasification processes) เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงสีข้าวและขายให้กับการไฟฟ้า ขี้เถ้าแกลบที่ได้ก็สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ส่วนรำข้าวสามารถนำไปบีบอัดน้ำมันรำข้าว ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารต่อร่างกายสูงมาก ขี่รำที่ได้ก็สามารถนำไปทำเป็นปุ๋ยได้ดี |
|
|
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพืชผักพื้นบ้าน |
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาร่วมกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ดำเนินการจัด ตั้ง ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในวาระครบรอบ 100 ปี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ ในบริเวณส่วนหนึ่งของที่ดินราชพัสดุ ทะเบียนที่ อชร 1 ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พื้นที่ 135 ไร่ 1 งาน 10.3 ตารางวา มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืชที่มีสายพันธุ์ที่ดี ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรด้านพันธุ์พืช ทนทานต่อโรคและแมลง ได้ผลผลิตที่ดี |
|
|
|
|
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงให้ความสำคัญกับเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านเป็นอย่างมาก ซึ่งนับวันนับจะหาได้ยาก และเกิดการปนเปื้อนของสายพันธุ์ จึงได้ทรงดำริให้ทำการปรับปรุง พัฒนาสายพันธุ์ที่ตอบสนองต่อปุ๋ยอินทรีย์ และเก็บรวบรวมเป็นธนาคารพันธุ์พืชไว้ใช้ในยามขาดแคลน เมื่อเกิดภัยธรรมชาติ ราษฎรเดือดร้อนก็สามารถนำออกมาช่วยได้ทันถ่วงที ภายในศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์ ยังได้ก่อเกิดอาชีพให้กับชาวบ้านในบริเวณโดยรอบ เนื่องจากได้มีการสาธิตและส่งเสริมให้เกษตรกรทำการปลูกพืชผักอินทรีย์เพื่อเก็บเป็นเมล็ดพันธุ์ ส่งมาจำหน่ายให้กับทางศูนย์ฯ อีกด้วย |
|
|
มูลนิธิอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เพื่อรักษาพันธุ์พืชผักทั่วประเทศ |
|
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) สำนัก
พระราชวัง เริ่มขึ้นเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีรับสั่งกับท่านเลขาธิการ
พระราชวัง ให้อนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ และดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ และพระราชทานพระราชดำริ พระราช ทานแนว
ทางดำเนินงาน มาเป็นระยะโดยตลอด มีเป้าหมายสรุป เพื่อพัฒนาบุคลากร อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืช ให้เกิดประโยชน์
แก่มหาชนชาวไทย วัตถุประสงค์ ให้เข้าใจเห็นความสำคัญของพันธุกรรมพืช ร่วมคิดร่วมปฏิบัติจนเกิดประโยชน์กับมหาชนชาวไทย
และมีระบบข้อมูลพันธุกรรมพืชที่สื่อถึงกันทั่วประเทศ
|
|
|
|
|
|
โรงเรียนสอนควาย กาสรกสิวิทย์ |
|
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดตั้งโรงเรียนกาสรกสิวิทย์ขึ้น เพื่อเป็นโรงเรียนสำหรับฝึกกระบือให้สามารถไถนาและทำงานด้านการเกษตรกรรม และสอนผู้ที่ต้องการใช้กระบือทำการเกษตรให้สามารถทำงานร่วมกับกระบือได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถดูแลกระบือให้มีสุขภาพแข็งแรง นอกจากนี้จะเป็นสถานที่ที่ให้ความรู้กับประชาชนในเรื่องวิถีชีวิต ความเป็นอยู่แบบพื้นบ้านที่เรียบง่าย และการใช้ชีวิตแบบพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย |
|
|
|
|
|
โครงการพระราชดำริอื่นๆ ของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ |
|
นอกจากนี้ยังมีโครงการที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรมอื่นๆ อีกมากมาย ที่ทรงพระราชดำริ ตัวอย่างได้แก่ |
|
|
|
|
|
|
เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมายุ 5 รอบ 60 พรรษาในวันที่ 2 เมษายน 2558 ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นับเป็นโอกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งและนับเป็นศุภวาระสำคัญที่ปวงชนชาวไทยจะได้สำนึกในพระกรณียกิจ พระอัจฉริยภาพและพระจริยาวัตรอันเป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศ พระองค์ทรงเป็นแบบอย่างอันดีเยี่ยมในทุกด้าน ทั้งคุณธรรม จริยธรรม ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีพระวิริยอุตสาหะในการทรงงาน
และที่สำคัญที่สุดคือเป็นเจ้าฟ้าที่มีความเป็นกันเองกับประชาชน ไม่ถือพระองค์ จนสามารถใช้คำว่า เจ้าฟ้าของคนเดินดิน เลยก็ว่าได้ ขอทรงพระเจริญ ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ เลยก็ว่าได้ |
|
|
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|