ถั่วเขียว ปุ๋ยพืชสด พืชขนมสร้างเส้น
ธัญพืชตระกูลถั่ว มากคุณค่าอาหาร |
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
ถั่วเขียวเป็นพืชที่ปลูกได้ยากในระบบเกษตรกรรมธรรมชาติ เมล็ดถั่วเขียวในปัจจุบันส่วนใหญ่ จะปลูกในระบบเคมี ถึงแม้ถั่วเขียวจะเป็นพืชอายุสั้น แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ ก็มีการใช้เคมีฉีดพ่นกันอย่างหนัก นับวันจะหาถั่วเขียวที่ปลอดภัยกินได้ยาก |
|
|
|
|
ที่ไร่พอใจ เรามีการปลูกถั่วเขียวแบบธรรมชาติ ไม่มีการใช้ปุ๋ยและยาเคมีใดๆ ทำการฉีดพ่น อาศัยเพียงจุลินทรีย์สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า ไรโซเบียม เพื่อช่วยสร้างอาหารให้กับต้นถั่ว ไม่จำเป็นต้องฉีดพ่นสารเคมีกำจัดแมลงใดๆ อาศัยเพียงความสมดุลของธรรมชาติ ก่อเกิดการควบคุมกันเองของแมลงดีกับแมลงร้าย ก็สามารถได้ถั่วเขียวที่มีคุณภาพและสารอาหารครบถ้วน |
|
|
 |
|
|
ลักษณะทั่วไป ของถั่วเขียว |
ถั่วเขียวเป็นพืชที่เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย และในเอเซียกลาง โดยได้ค้นพบหลักฐานว่ามีการปลูกมากว่า 4,000 ปีที่แล้ว ในแคว้นมัธยของอินเดีย และยังปลูกแพร่หลายใน พม่า ไทย ศรีลังกา ปากีสถาน อิหร่าน จีน และภาคตะวันออกของโซเวียต
|
|
|
|
|
|
ถั่วเขียวเป็นพืชล้มลุก ปลูกได้ทั้งปี คือต้นฤดูฝน กลางฤดูฝน และต้นฤดูหนาวหลังเก็บเกียวพืชหลัก เป็นพืชอายุสั้นประมาณ 65-90 วัน ใช้น้ำน้อย ทนแล้ง มีลำต้นตั้งตรงเป็นพุ่ม บางสายพันธุ์เลื้อยและกึ่งเลื้อย ความสูงประมาณ 30-150 เซนติเมตรขึ้นอยู่กับสายพันธุ์นั้น ลำต้นแตกแขนงที่บริเวณโคนและส่วนกลาง แต่จะไม่แตกแขนงที่ข้อใบเลี้ยงและข้อใบจริงคู่แรก ลำต้นค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีขนอ่อนปกคลุมอยู่ทั่วไป |
|
|
 |
|
|
รากถั่วเขียวเป็นระบบรากแก้ว และมีรากแขนงซึ่งเจริญแตกออกมาจากรากแก้ว รากแก้วมักจะยั่งลึก ทำให้ถั่วเขียวเจริญเติบโตได้รวดเร็วในดินที่มีเพียงความชื้น บริเวณรากจะพบปมของเชื้อไรโซเบียม ทำหน้าที่ช่วยตรึงไนโตเจนมาเป็นอาหารให้กับต้นถั่ว การปลูกถั่วเขียวจึงนิยมคลุกด้วยเชื้อไรโซเบียมเพื่อเพิ่มผลผลิตของถั่วเขียว |
|
|
 |
|
|
ถั่วเขียวมีใบคู่แรกเป็นใบเดี่ยวเกิดอยู่ตรงกันข้ามกัน ถัดขึ้นไปเป็นใบจริง ประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบเกิดสลับอยู่บนลำต้น ก้านใบย่อยจะสั้น ลักษณะของรูปใบคล้ายรูปไข่ถึงรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีขนาด 5-18 x 4-15 เซนติเมตร บนใบจะมีขนขึ้นอยู่ทั่วไป |
|
|
 |
|
|
ถั่วเขียวจะออกดอกเป็นช่อ แต่ละช่อออกดอกที่มุมใบที่อยู่ตอนบนของลำต้น และที่ปลายยอดของลำต้น ก้านช่อดอกยาวประมาณ 2-20 เซนติเมตร มีดอกย่อยในช่ออยู่อย่างหนาแน่น ในช่อหนึ่งๆ จะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 2-20 ดอก สีกลีบดอกมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีขาว สีม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ ประกอบด้วยกลีบใหญ่ 1 กลีบ กลีบข้าง 2 กลีบ กลีบหุ้มเกสร 2 กลีบ เกสรตัวเมียมีลักษณะยาวรี โดยรังไข่หนึ่งๆ จะมีไข่ (ovule) อยู่ประมาณ 10-15 หน่วย และมีเกสรตัวผู้อยู่ประมาณ 10 ก้าน |
|
|
 |
|
|
ลักษณะฝักถั่วเขียวมีรูปร่างกลมยาว เปลือกนอกสีเขียว ปลายฝักโค้งงอเล็กน้อย ฝักจะยาวประมาณ 15 เซนติเมตร เมื่อฝักแก่จะเปลี่ยนเป็นสีขาวนวล สีน้ำตาลอ่อน สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของถั่วเขียว เมล็ดจะมีตาหรือรอยแผลอยู่ทางด้านเว้าซึ่งมีสีขาว และมีเยื้อหุ้มเมล็ดหลายสี เช่น เขียว เหลือง น้ำตาล หรือแดง ส่วนผิวของเมล็ดอาจจะมันหรือด้าน แต่ละฝักจะมีเมล็ดประมาณ 10-15 เมล็ด โดย 100 เมล็ดจะให้น้ำหนักประมาณ 2-8 กรัมขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ |
|
|
 |
|
|
สายพันธุ์ถั่วเขียว ที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก |
ถั่วเขียวที่ปลูกในไทยจะมีอยู่หลายสายพันธุ์ ถ้าแบ่งตามลักษณะของเปลือกเมล็ดถั่วเขียวจะแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดคือ
|
1. |
ถั่วเขียวผิวมัน เป็นถั่วเขียวที่มีเมล็ดเป็นสีเขียวมันวาว ฝักเมื่อแก่จะมี 2 สีตามสายพันธุ์ เช่น พันธุ์อูทอง 1 ฝักสีดำ และพันธุ์พื้นเมืองฝักขาว ฝักมีสีขาวนวล |
2. |
ถั่วเขียวผิวด้านหรือถั่วเขียวธรรมดา เมล็ดมีสีเขียวไม่มีวาว มีลักษณะเมล็ดด้าน |
3. |
ถั่วเขียวสีทอง มีลักษณะคล้ายถั่วเขียวผิวมันและถั่วเขียวผิวด้าน แต่เมล็ดจะมีสีเขียวอมเหลือง มีทั้งเมล็ดด้านและเมล็ดมันวาว |
4. |
ถั่วเขียวผิวดำ มีลักษณะคล้ายถั่วเขียวผิวด้าน แต่ลักษณะต้นมีทรงพุ่มที่ใหญ่ และแตกกิ่งก้านมากกว่า บางพันธุ์อาจจะมีลักษณะลำต้นเลื้อยพันกัน ใบหนา ลำต้นมีขนปกคลุม ก้านใบและเปลือกฝักหนา ดอกมีสีเขียวและเหลือง ฝักป้อมสั้นกว่า เมล็ดมีสีดำปานกลาง อายุเก็บเกี่ยว 80-90 วัน เช่น ถั่วเขียวพันธุ์ชัยนาท 80, ถั่วเขียวพิษณุโลก 2 |
|
|
|
|
|
|
|
การวิจัยสายพันธุ์ถั่วเขียว ให้ทนต่อโรคแมลง ทนแล้ง และให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีหลายๆ องค์กรทำหน้าที่รับผิดชอบอยู่ เช่น มหาลัยเกษตรศาสตร์, กรมวิชาการเทคโนโลยีเกษตร, ศูนย์วิจัยพืชไร่ชับนาท, ศูนย์วิจัยพืชผักแห่งเอเซีย (AVRDC) โดยส่วนใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆ ของถั่วเขียวจะเกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์หรือสายรังสีให้กับเมล็ด เช่น ถั่วเขียวสายพันธุ์ชัยนาท 36 เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ Pagasa 1 กับพันธุ์ PHLV 18 ที่ประเทศไต้หวัน ถั่วเขียวสายพันธุ์ชัยนาท 72 เกิดจากการสายรังสีแกมม่า ให้เมล็ดถั่วเขียวพันธุ์กำแพงแสน 2 |
|
|
 |
|
|
สำหรับชื่อสายพันธุ์ถั่วเขียวที่เกษตรกรนิยมปลูกในปัจจุบัน ได้แก่ อู่ทอง 2, กำแพงแสน 1, กำแพงแสน 2, ชัยนาท 72, ชัยนาท 84-1 และพันธุ์ KUML เป็นต้น โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีลำต้น ใบ ดอก ฝัก อายุเก็บเกี่ยว และผลผลิตแตกต่างกันไปตามลักษณะสายพันธุ์นั้นๆ ดูรายละเอียดได้จากตารางข้างล่างนี้ |
|
|
|
พันธุ์ถั่วเขียว |
ความสูงของต้น |
อายุเก็บเกี่ยว |
ผลผลิต/ไร่ |
|
|
อู่ทอง 1 |
63.6 เซ็นติเมตร |
65-70 วัน |
150-200 กิโลกรัม |
|
|
อู่ทอง 2 |
100 เซ็นติเมตร |
70 วัน |
180 กิโลกรัม |
|
|
กำแพงแสน 1 |
53 เซ็นติเมตร |
65-70 วัน |
201 กิโลกรัม |
|
|
กำแพงแสน 2 |
50 เซ็นติเมตร |
65-75 วัน |
194 กิโลกรัม |
|
|
ชัยนาท 36 |
51 เซ็นติเมตร |
67 วัน |
216 กิโลกรัม |
|
|
ชัยนาท 60 |
50.5 เซ็นติเมตร |
55 วัน |
175 กิโลกรัม |
|
|
ชัยนาท 72 |
66 เซ็นติเมตร |
63 วัน |
212 กิโลกรัม |
|
|
ชัยนาท 84-1 |
63 เซ็นติเมตร |
65 วัน |
226 กิโลกรัม |
|
|
พิษณุโลก 2 |
57 เซ็นติเมตร |
77 วัน |
190 กิโลกรัม |
|
|
มอ.1 |
55 เซ็นติเมตร |
82 วัน |
254 กิโลกรัม |
|
|
KUML |
70-75 เซ็นติเมตร |
65 วัน |
300 กิโลกรัม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
ปลูกถั่วเขียว สำหรับเป็นพืชคลุมดินและปุ๋ยพืชสด |
ถั่วเขียวเป็นพืชวงศ์ตระกูลถั่ว มีลักษณะรากเป็นปม สามารถตรึงไนโตเจนได้ดีโดยอาศัยเชื้อไรโซเบียม ดังนั้นเมื่อทำการหว่านเมล็ดถั่ว จึงควรคลุกด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อน เพื่อให้ต้นถั่วเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แย่งอาหารจากหญ้าวัชพืชได้เก่ง
|
|
|
|
|
|
อัตราในการหว่านเมล็ดสำหรับคลุมดินและเป็นปุ๋ยพืชสด จะใช้ประมาณ 6-10 กิโลกรัมต่อไร่ ถั่วเขียวเป็นพืชที่มีรากแก้วยาวยั่งได้ลึกลงดิน จึงทนต่อแล้ง และทำให้ดินร่วนซุย แย่งอาหารแข่งกับหญ้าวัชพืชได้ดี เมื่อถั่วเขียวโตเต็มที่จะบดบังพื้นที่แปลงจนทำให้หญ้าวัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ทำให้ดินชุ่มชื้น เมื่อถั่วเขียวเริ่มออกดอก ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นถั่วเขียวกักเก็บสารอาหารไว้เป็นจำนวนมาก จึงทำการไถกลบ เพื่อให้ต้นถั่วเน่าเป็นปุ๋ยในดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ โดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆ เพิ่มอีกเมื่อทำการปลูกพืชหลักในฤดูกาลถัดไป |
|
|
 |
|
|
การปลูกถั่วเขียว เพื่อบริโภค |
ถั่วเขียวเป็นพืชวงศ์ตระกูลถั่ว มีลักษณะรากเป็นปม สามารถตรึงไนโตเจนได้ดีโดยอาศัยเชื้อไรโซเบียม ดังนั้นเมื่อทำการหว่านเมล็ดถั่ว จึงควรคลุกด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อน เพื่อให้ต้นถั่วเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แย่งอาหารจากหญ้าวัชพืชได้เก่ง
|
|
|
|
|
|
สารอาหารสำคัญ ในเมล็ดถั่วเขียว |
เมล็ดถั่วเขียวเป็นพืชอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถนำไปแปรรูปทำอาหารได้หลากหลาย สารอาหารที่มีมากที่สุดในเมล็ดถั่วคือ คาร์โบไฮเดรต ซึ่งมีอยู่มากถึง 60-65 เปอร์เซนต์ มีโปรตีนร้อยละ 23 ซึ่งมีกรดไนไลซีนที่สูง มีไขมันต่ำมากเพียงร้อยละ 1 เท่านั้น ตารางข้างล่างแสดงให้เห็นถึงปริมาณธาตุอาหารต่างๆ ในเมล็ดถั่วเขียวดิบ 100 กรัม
|
|
|
|
ธาตุอาหาร |
ปริมาณ |
ธาตุอาหาร |
ปริมาณ |
|
|
พลังงาน |
347 กิโลแคลอรี่ |
คาร์โบไฮเดรต |
62.62 กรัม |
|
|
น้ำตาล |
6.6 กรัม |
เส้นไย |
16.3 กรัม |
|
|
ไขมัน |
1.15 กรัม |
โปรตีน |
23.86 กรัม |
|
|
วิตามินบี 1 |
0.621 มิลลิกรัม 54% |
วิตามินบี 2 |
0.233 มิลลิกรัม 19% |
|
|
วิตามินบี 3 |
2.251 มิลลิกรัม 15% |
วิตามินบี 5 |
1.91 มิลลิกรัม 38% |
|
|
วิตามินบี 6 |
0.382 มิลลิกรัม 29% |
วิตามินบี 9 |
625 ไมโครกรัม 156% |
|
|
วิตามินซี |
4.8 มิลลิกรัม 6% |
วิตามินอี |
0.51 มิลลิกรัม 3% |
|
|
วิตามินเค |
9 ไมโครกรัม 9% |
แคลเซียม |
132 มิลลิกรัม 13% |
|
|
เหล็ก |
6.70 มิลลิกรัม52% |
แมกนีเซียม |
189 มิลลิกรัม 53% |
|
|
แมงกานีส |
1.035 มิลลิกรัม 49% |
ฟอสฟอรัส |
367 มิลลิกรัม 52% |
|
|
โพแตสเซียม |
1.246 มิลลิกรัม 27% |
สังกะสี |
2.68 มิลลิกรัม 28% |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
เมล็ดถั่วเขียว พืชสร้างแป้งคาร์โบไฮเดรตสูง |
ในเมล็ดถั่วเขียวจะมีธาตุคาร์โบไฮเดรตมากที่สุดถึง 60-65 เปอร์เซนต์ จึงมีการนำเมล็ดถั่วเขียวไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นจำนวนมาก ทั้งการผลิตแป้งถัวเขียว เส้นก๋วยเตี๋ยวและผลิตวุ่นเส้น โดยเฉพาะวุ่นเส้นจะผลิตมาจากแป้งถั่วเขียวทั้งสิ้น เนื่องจากเมื่อนำแป้งถั่วเขียวไปผลิตเป็นวุ่นเส้น จะให้ค่า Glycemic Index ที่ต่ำ เมื่อรับประทานวุ่นเส้นเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อยๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เป็นผลดีต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน และยังช่วยลดคอเลสเตอรอล รวมทั้งไขมันกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
|
|
|
 |
|
|
เมล็ดถั่วเขียว พืชสร้างอาหารคาวหวานคู่คนไทยมายาวนาน |
นอกจากจะนำเมล็ดถั่วเขียวไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหารแล้ว เมล็ดถั่วเขียวยังเป็นวัตถุดิบยอดนิยมของคนไทยสำหรับนำมาทำอาหารทั้งคาวหวานได้มากมาย เช่น ถั่วเขียวต้มน้ำตาล, ถั่วกวน, เต้าส่วน, ถั่วแปบ, ถั่วเขียวซีกอบเกลือ, เม็ดขนุน, ขนมเทียน และที่มีการบริโภคกันมากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นถั่วเขียวเพาะงอกหรือถั่วงอก ซึ่งมักจะพบปะปนอยู่ในอาหารอื่นอีกมากมาย เช่น ก๋วยเตี๋ยว, ผัดไทย, หอยทอด ฯลฯ
|
|
|
 |
|
|
สรรพคุณทางยา ของเมล็ดถั่วเขียว |
คุณประโยชน์ทางยาของถั่วเขียวนับว่ามีอยู่มากมาย เช่น ช่วยแก้ร้อนใน ลดการกระหายน้ำ ขับปัสสาวะ แก้เจ็บคอ แก้ตาแดง ตาพร้า ตาอักเสบ แก้อาเจียน รักษาเลือดออกตามไรฟัน อาการท้องผูกที่เกิดจากการนอนดึก และอีกมากมาย ได้แก่
|
|
- มีธาตุโพแทสเซียมช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรง
- ถั่วเขียวมีสารต้านเอนไซม์โปรตีเอสในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านมะเร็ง
- ช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันและรักษาไข้หวัด
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยแมกนีเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ช่วยในการทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกาย ช่วยผลิตโปรตีน และการหดตัวของกล้ามเนื้อ
- ช่วยลดความดันโลหิต
- ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- ช่วยลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอล ช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด ควบคุมน้ำหนักได้ เพราะถั่วเขียวมีส่วนประกอบของไขมันที่ต่ำมาก ไม่มีคอเลสเตอรอล และยังอุดมไปด้วยโปรตีนกับเส้นใยอาหาร
- ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ
- ถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น ออกฤทธิ์ตามเส้นลมปราณของหัวใจและม้าม
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยธาตุเหล็กซึ่งจำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดงในร่างกาย
- ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดและเบาหวานได้
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังช่วยป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนได้อีกด้วย
- ช่วยขับร้อน แก้อาการร้อนใน และช่วยแก้พิษในฤดูร้อน
- ถั่วเขียวมีประโยชน์ต่อลำคอและผิวหนัง และยังช่วยแก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้วย
- เมล็ดถั่วเขียวนำมาต้มกับเกลือ ใช้อมเพื่อรักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้
- ช่วยถอนพิษในร่างกาย
- ช่วยกระตุ้นประสาท ถั่วเขียวเป็นแหล่งสำคัญของธาตุโบรอน (Boron) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งกระแสประสาทของสมอง ช่วยทำให้สมองทำงานได้ฉับไวมากขึ้น และยังอุดมไปด้วยฟอสฟอรัสที่ช่วยบำรุงเซลล์ประสาทและสมอง
- ช่วยบำรุงสายตา ทำให้ตาสว่าง และรักษาตาอักเสบ (เปลือกสีเขียว) ช่วยแก้อาการตาพร่า ตาอักเสบ ด้วยการรับประทานถั่วเขียวต้มครั้งละ 15-20 กรัมเป็นประจำ
- ช่วยรักษาคางทูมที่เป็นใหม่ ๆ ด้วยการต้มถั่วเขียว 70 กรัมจนใกล้สุก แล้วใส่แกนกะหล่ำปลีลงไป ต้มอีก 15 นาที กินเฉพาะน้ำวันละ 2 ครั้ง
- ช่วยแก้อาการอาเจียนจากการดื่มเหล้า ด้วยการดื่มน้ำถั่วเขียวพอประมาณ
- ช่วยขับของเหลวในร่างกาย
- ในถั่วเขียวอุดมไปด้วยเส้นใยที่สามารถละลายน้ำได้ดี จึงช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติ
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินบี 2 ที่ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอกได้
- ถั่วเขียวมีเส้นใยอาหารสูงจึงช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และยังส่งผลดีต่อระบบลำไส้โดยรวมอีกด้วย
- เมล็ดถั่วเขียวนำมาต้มแล้วกิน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
- ช่วยแก้ลำไส้อักเสบ
- ช่วยบำรุงตับ
- ช่วยแก้อาการไตอักเสบ
- ช่วยแก้ผดผื่นคัน
- ช่วยลดอาการบวม
- ช่วยรักษาโรคข้อต่าง ๆ แก้อาการขัดข้อ
- ช่วยรักษาฝี ด้วยการใช้ถั่วเขียวดิบหรือต้มสุกนำมาใช้ตำแล้วพอกเป็นยารักษาภายนอก ช่วยในการบ่มหนองให้ฝีสุก และยังใช้รักษาอาการอื่น ๆ ได้อีกด้วย เช่น แก้ท้องร่วง การคลอดบุตรยาก และโรคท้องมาน
- นำมาใช้ตำพอกแผล
- ช่วยแก้พิษจากพืช พิษจากสารหนู และพิษอื่น ๆ
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินบี 1 ที่ช่วยในการป้องกันโรคเหน็บชาได้เป็นอย่างดี
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยโฟเลตสูง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดของทารกได้
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
การนำถั่วเขียว ไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ |
ถั่วเขียวนับว่าเป็นพืชเศรษกิจที่สำคัญ นำไปใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งทางด้านอาหาร สรรพคุณทางยา ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงดินในการเกษตรกรรม และใช้เป็นเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณ พอสรุปประโยชน์ต่างๆ ของเมล็ดถั่วเขียวได้ดังนี้
|
|
- ถั่วเขียวอุดมไปด้วยวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยรักษาและสร้างความแข็งแรงให้กับเซลล์ผิวหนัง ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวและยังช่วยปกป้องผิวจากความเสียหายที่เกิดจากมลภาวะอีกด้วย
- สำหรับผู้ที่เป็นสิวฝ้าเนื่องจากความร้อนในร่างกาย ให้รับประทานถั่วเขียวต้มน้ำตาล 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยป้องกันการเกิดสิวและทำให้สิวลดลงได้ เนื่องจากถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น ช่วยตับขับสารพิษกับความร้อนออกจากร่างกายได้
- ถั่วเขียวดิบเป็นแหล่งของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตชั้นยอด สามารถนำมาต้มกับน้ำตาลเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกาย และทำให้อิ่มท้องได้นานยิ่งขึ้น
- ถั่วเขียวมีโปรตีนสูงเมื่อเทียบกับถั่วเมล็ดแห้งชนิดอื่น ๆ และยังเป็นโปรตีนที่มีราคาถูกเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ ซึ่งโปรตีนที่ได้จากพืชจะช่วยหลีกเลี่ยงการได้รับไขมันที่เกินความจำเป็นจากโปรตีนของเนื้อสัตว์ได้อีกด้วย
- โปรตีนจากถั่วเขียวมีคุณสมบัติที่ย่อยง่ายและเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเกือบทั้งหมด
- ถั่วเขียวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้แทบทุกส่วน โดยเมล็ดใช้เป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ ส่วนลำต้นและเปลือกที่เหลือ สามารถนำมาไถกลบลงดิน เพื่อช่วยบำรุงดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากมีชีวมวล (Biomass) สูง
- ต้นถั่วเขียวที่เก็บฝักแล้ว สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เป็นอย่างดี แถมยังมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าหญ้าอีกด้วย
- ถั่วเขียวสามารถนำมาแปรรูปและใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น การนำมาใช้เพาะถั่วงอก หรือใช้ทำแป้งถั่วเขียว ทำวุ้นเส้น ทำซาหริ่ม หรือทำเป็นขนมต่าง ๆ เช่น ถั่วกวน เต้าส่วน เม็ดขนุน ถั่วแปบ ขนมลูกเต๋า ถั่วเขียวต้มน้ำตาล ทำข้าวเกรียบ ขนมครองแครง ขนมหันตรา ขนมลูกชุบ ขนมเทียนแก้ว ขนมเปียก ขนมกง ฯลฯ และฝักถั่วเขียวที่เกือบแก่ ยังนำมาใช้ต้มกับเกลือใช้กินเมล็ดได้เช่นเดียวกับถั่วแระ
- กากถั่วเขียวเหลือจากโรงงานวุ้นเส้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์หรือใช้ทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้
- วุ้นเส้นที่ผลิตมาจากถั่วเขียวมีคุณสมบัติการตอบสนองต่อน้ำตาลในเลือดต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารคาร์โบไฮเดรตอื่น ๆ อย่างเช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว หรือเส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว มันจึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
- ถั่วเขียวยังสามารถนำมาใช้ในด้านความงามได้อีกด้วย โดยทำเป็นสครับถั่วเขียว สูตรทำให้ผิวพรรณชุ่มชื้น โดยไม่ทำลายผิวพรรณ เพราะมีค่า pH เท่ากับผิวกาย และช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของผิว อีกทั้งกลิ่นจากถั่วเขียวยังช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้อีกด้วย วิธีการทำสครับก็คือให้นำถั่วเขียวที่ยังไม่ต้มมาบดพอให้หยาบ ผสมกับน้ำเปล่าเล็กน้อยหรือน้ำผึ้งก็ได้ แล้วนำมาพอกที่ใบหน้าหรือผิวกายทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วจึงล้างออก
- ถั่วเขียวกับสูตรลดเลือนจุดด่างดำ หรือรอยแผลสิว รวมไปถึงรอยแผลที่เกิดจากผื่นคันตามร่างกาย ด้วยการใช้ถั่วเขียว 3 ช้อนโต๊ะ, มันฝรั่ง 1 หัว, และน้ำมันมะกอก 2 ช้อนชา ขั้นแรกก็ให้นำถั่วเขียวและมันฝรั่งมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำไปต้มจนสุก จากนั้นให้นำถั่วเขียวและเนื้อมันฝรั่งมาบดรวมกันแล้วเติมน้ำมันมะกอกลงไปผสมจนเข้ากัน เสร็จแล้วนำมาใช้ขัดผิวบริเวณที่จุดด่างดำ โดยใช้เวลาขัดอย่างน้อย 5 นาทีแล้วล้างออก
- ถั่วเขียวยังถูกนำมาใช้ในการพอกหน้า ขัดหน้า และขัดตัว เพื่อช่วยบำรุงผิวพรรณ ดูดซับไขมัน ช่วยลดสิว ป้องกันการเกิดสิว และช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นบนใบหน้า ทำให้ใบหน้าเต่งตึง
|
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
สารสกัดจาก เมล็ดถั่วเขียว |
ปัจจุบันมีการสกัดสารสำคัญในถั่วเขียวมาใช้ประโยชน์ ทั้งทางด้านการแพทย์และเครื่องสำอางค์บำรุงผิว สารสำคัญนั้นคือไอโซฟลาโวน ซึ่งนำมาเป็นยารักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดอาการข้างเคียงของสตรีวัยหมดประจำเดือน เพิ่มความแข็งแรงของกระดูก ลดอาการวูบวาบในสตรี ลดคอเลสเตอลอลในเลือด เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชลอวัย ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายวิตามินอี โดยมีการนำไปใช้ผสมในเครื่องสำอางค์บำรุงผิวพรรณสำหรับสตรี
|
|
|
 |
|
|
ที่ไร่พอใจมีการปลูกถั่วเขียวเพื่อเป็นพืชบำรุงดิน ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับใช้ปลูกพืชโดยไม่ต้องใส่ปุ๋ยใดๆ บำรุงดินอีก ที่สำคัญยังได้เมล็ดถั่วเขียวมาปรุงอาหารได้หลายอย่าง วิธีการปลูกถั่วเขียวที่นี้จะเน้นแนวทางกสิกรรมธรรมชาติ โดยพึ่งพิงธรรมชาติและความสมดุล การบำรุงปรับปรุงดินเป็นสิ่งสำคัญ เราอาศัยเชื้อจุลินทรีย์ตัวเล็กที่เรียกชื่อว่า ไรโซเบียม มาคลุกเคล้ากับเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวก่อนปลูก เพื่อเป็นตัวช่วยตรึงธาตุในโตเจนที่รากของถั่วเขียว ทำให้ถั่วเขียวเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จำเป็นต้องพึงพิงปุ๋ยสารเคมีใดๆ เมล็ดถั่วเขียวที่ได้จึงปลอดภัยพร้อมคุณค่าธาตุอาหารจากธรรมชาติ |
|
|
รวมรูป ถั่วเขียว ปุ๋ยพืชสด พืชขนมสร้างเส้น
ธัญพืชตระกูลถั่ว มากคุณค่าอาหาร |
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|