แนวคิดเกษตรอินทรีย์
ตามหลักธรรมชาติ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
|
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
เกษตรอินทรีย์ตามธรรมชาติ เป็นแนวเกษตรที่เน้นการรักษาสิ่งแวดล้อมรอบข้างให้อุดมสมบูรณ์มีระบบนิเวศน์ที่สมดุลย์ โดยอาศัยความเป็นไปของธรรมชาติ ตามกลไกต่างๆ ที่สังเกตุได้จากในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ แนวความคิดที่ยิ่งใหญ่ที่มีอิทธิพลอย่างมากสำหรับชาวเกษตรอินทรีย์มีอยู่ด้วยกัน 3 แนวคิด |
|
|
|
แนวคิดของ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ |
|
แนวคิดของมาชาโนบุ ฟูกูโอกะ เจ้าของหนังสือขายดีไปทั่วโลก One Rice Straw Revolution หรือปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ซึ่งมีหลักการทำเกษตรแบบพึ่งพิงธรรมชาติมากที่สุด คือ ไม่มีการไถพรวนดิน ไม่มีการกำจัดวัชพืช และไม่ใช้สารเคมี โดยทำการหว่านเมล็ดพันธุ์ลงในแปลงในขณะที่พืชรุ่นก่อนยังไม่ได้เก็บเกี่ยวและเพื่อคุมวัชพืช |
|
|
|
|
|
ฟูกูโอกะเป็นผู้นำการวิจัยจากห้องทดลองออกมาสู่ไร่นา เขาได้อธิบายว่า ชาวนาเชื่อกันว่าทางเดียวที่จะให้อากาศเข้าไปปรับสภาพของเนื้อดินได้ดี คือ ต้องใช้จอบ ใช้เสียม ไถ หรือใช้รถแทรคเตอร์พรวนดิน แต่ยิ่งไถพรวนดินมากดินก็จะแข็งขึ้นและเกิดเป็นดินดาน ถ้าปล่อยให้วัชพืชทำหน้าที่นี้แทน รากของวัชพืชจะซอนไชลงไปได้ลึกถึง 30-40 ซ.ม. ซึ่งจะช่วยทำให้อากาศและน้ำผ่านเข้าไปในเนื้อดินได้ เมื่อรากเหล่านี้ตายก็เป็นอาหารของจุลินทรีย์ ทำให้แพร่ขยายเป็นจำนวนมากขึ้น ไส้เดือนดินก็จะเพิ่มจำนวนขึ้น และตัวตุ่นก็จะตามมา และจะช่วยขุดดิน เป็นการช่วยพรวนดินตามธรรมชาติ ดินจะร่วนซุยและสมบูรณ์ขึ้นเองโดยไม่ต้องให้มนุษย์ช่วย |
|
|
|
|
|
วิธีการทำการเกษตรธรรมชาติ ของฟูกูโอกะมีดังนี้ |
|
|
1. ไม่มีการไถพรวนดินด้วยเครื่องจักรกล |
|
|
|
2. ไม่มีการใชปุ๋ยเคมี แต่ใช้วิธีปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ไม่สนับสุนการใช้ปุ็ยหมัก ปุ๋ยคอก แต่ให้ใช้ฟางข้าวคลุมดินแทน |
|
|
|
3.ไม่มีการกำจัดวัชพืช แต่ใช้หลักการคุมปริมาณวัชพืชโดยใช้วิธีการปลูกพืชคลุมดิน หรือใช้ฟางคลุมดินแทน |
|
|
|
4. ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดโรคและแมลงสัตรูพืช แต่อาศัยการคุมโรคและแมลงด้วยกลไกคือปล่อยให้สิ่งมีชิวิต |
|
ในธรรมชาติควบคุมกันเอง |
|
|
|
|
แนวคิด เกษตรธรรมชาติคิวเซ |
|
แนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซ ของโมกิจิ โอกาดะ ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ที่ค้นพบจุลินทรีย์ที่ดีที่นำมาใช้ในการเกษตรที่มีถึง 80 สายพันธุ์ ซึ่งคนไทยจะคุ้นหูดีกับชื่อที่ใช้เรียกว่า อีเอ็ม (Effective Microorganism : EM) โดยมีความคิดว่า ต้องมีการคลุมพื้นดินในแปลงเพื่อรักษาความชื่นในดิน ไม่ไถพรวนดิน ไม่ใช้สารเคมี เพื่อส่งเสริมให้จุลินทรีย์ทำหน้าที่รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน แนวคิดเรื่องจุลินทรีย์นี้ได้มีการนำมาต่อยอดมากมายในบ้านเรา เช่น จุลินทรีย์สรรพสิ่ง จากโครงการ 1 ไร่ 1 แสน, จุลินทรีย์สังเคราห์แสง เป็นต้น |
|
|
|
|
|
โมกิจิ โอกาดะ เป็นชาวญี่ปุ่นเป็นผู้ก่อตั้งองค์กรศาสนาเซไคคิวเซเคียว โดยมีกิจกรรมการส่งเสริมระบบเกษตรธรรมชาติคิวเซเป็นหลัก เขาได้สังเกตุและให้ความสำคัญกับดินเป็นอย่างมาก โดยเขาพบว่าดินในป่านั้นเป็นดินต้นแบบในการทำเกษตรได้อย่างดี ซึ่งเขาพบว่าผิวดินในป่านั้นมีความแตกต่างเป็นชั้นๆ ดังนี้ |
|
|
ชั้นที่ 1 เป็นใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ปกคลุมทั่วไป |
|
|
|
ชั้นที่ 2 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้งเริ่มที่จะผุพัง |
|
|
|
ชั้นที่ 3 เป็นส่วนที่ใบไม้ กิ่งไม้แห้ง ผุพังเน่าเปื่อยปนกับดิน |
|
|
|
ชั้นที่ 4 เป็นดินดานที่ไม่มีอินทรีย์วัตถุ |
|
|
|
|
|
|
ส่วนที่มีใบไม้ กิ่งไม้ผุเน่าปะปนอยู่กับดินนั้น มีสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ดินส่วนนี้จะมีรากพืชส่วนที่มีรากฝอยและรากขนอ่อนอยู่มาก เมื่อนำดินส่วนนี้มาดมจะพบว่ามีกลิ่นหอมเหมือนเห็ด เขาเรียกดินส่วนนี้ว่า "ดินที่มีชีวิต" |
|
|
หลักการของ การทำเกษตรธรรมชาติคิวเซ |
|
|
1. |
หลักการคลุมดิน การคลุมดินในแปลงผัก และแปลงไม้ผลให้ประโยชน์หลายประการ คือ |
|
|
- รักษาความชื่นในดินและรักษาหน้าดินไม้ให้ถูกชะล้าง |
|
|
- ช่วยกำจัดวัชพืชได้บางส่วนและทำให้ถอนวัชพืชง่าย |
|
|
- ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ทำงานได้ดี |
|
|
- อินทรีย์วัตถุที่ใช้คลุมดินจะถูกย่อยสลายเป็นธาตุอาหารพืชได้ง่าย |
|
|
|
|
2. |
ไม่ควรไถพรวนดิน การไถพรวนดินเพื่อเป็นการทำลายระบบนิเวศของจุลินทรีย์ในดิน ทำให้ดิน่แห้ง และเป็นการกลับหน้าดิน |
|
|
ซึ่งจะทำให้ดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์ถูกพลิกกลับมาอยู่บนผิวดิน อย่างไรก็ตาม บางครั้งก็จำเป็นต้องไถพรวนดินบ้าง |
|
|
เพื่อกำจัดวัชพืชและช่วยยกแปลง |
|
|
|
|
3. |
ไม่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งมีความสำคัญที่สุด เพื่อเป็นการคืนสภาพความเป็นธรรมชาติให้แก่ดิน |
|
|
|
|
|
 |
|
|
ทั้งนี้ โมกิจิ โอกาดะ ได้ตั้งเป้าหมายในการทำเกษตรธรรมไว้ 3 ข้อดังนี้ |
|
|
1. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตคุณภาพดีและไม่ทำลายสุขภาพมนุษย์ |
|
|
|
2. เป็นการเกษตรที่ไม่ทำลายดิน และให้ผลผลิตของพืชเพิ่มในแต่ละปี |
|
|
|
3. เป็นการเกษตรที่ให้ผลผลิตเท่าเทียมกับการเกษตรเคมี และสามารถทำให้ฐานะของเกษตรกรดีขึ้น |
|
|
เป้าหมายที่ตั้งไว้ 2 เป้าหมายแรกเขาทำได้สำเร็จ ส่วนเป้าหมายที่ 3 โมกิจิ โอกาดะ ไม่ประสพผลสำเร็จ จนกระทั้งเขาได้ร่วมงานกับ ศาสตราจารย์ ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ซึ่งจบจากมหาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเขาได้ค้นพบเทคนิคการใช้อีเอ็ม (Effective Microorganism : EM) ซึ่งเป็นกลุมจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพจำนวน 80 สานพันธุ์ โมกิจิ โอกาดะจึงสามารถบรรลุเป้าหมายข้อที่ 3 ได้ ทำให้เกษตรคิวเซขยายและเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางไปสู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก อันเนื่องมาจากจุลินทรีย์อีเอ็มนั้นทำให้ดินดีมีชิวิตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และสามารถลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตได้ รวมทั้งสามารถป้องกันและกำจัดโรค แมลงศัตรูพืชได้ในเวลาเดียวกัน |
|
จุิลินทรีย์อีเอ็ม จะประกอบไปด้วยจุลินทรีย์กลุ่มดีมากถึง 80 สายพันธุ์ เช่น จุลินทรีย์กลุ่มผลิตกรดแลคติก ยีสต์ แอคโนมัยซิท จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และเชื้อราที่ช่วยในการหมัก เป็นการค้นพบวิธีการทำเกษตรธรรมชาติแนวใหม่ โดยใช้จุลินทรีย์มาช่วยในระบบการผลิต ซึ่ง ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ ต้องใช้เวลาศึกษานานถึง 15 ปี |
|
|
แนวคิดเกษตรธรรมชาติเกาหลี กับจุลินทรีย์ท้องถิ่น |
|
แนวคิดเกษตรธรรมชาติเกาหลีซึ่งเผยแพร่โดย ฮาน คิว โซ เจ้าของความคิดเรื่องจุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Microorganism : IMOs) โดยสังเกตุจากการหมักอาหารที่เรียกว่า กิมจิ แนวความคิดของ ฮาน คิว โซ เน้นให้เชื่อเรื่องพลังของธรรมชาติ ใช้สิ่งแวดล้อมรอบข้างให้เป็นประโยชน์ เพื่อสร้างสภาพที่เหมาะสมกับทุกชิวิต โดยต้องเข้าใจให้ถ่องแท้ในเรื่องของธรรมชาติกับสิ่งมีชิวิต แล้วปล่อยทุกชิวิตพึ่งพาตนเอง ในบ้านเรามีการนำเอาจุลินทรีย์ในป่ามาใช้ในการเกษตรมากขึ้น จนกระทั้งถึงจุลินทรีย์จาวปลวกที่เป็นที่ฮือฮาในวงการเกษตรที่ผ่านมา |
|
|
|
|
|
ฮาน คิ โว เป็นผู้อำนวยการสถาบันเกษตรธรรมชาติจานอง (Janong Nature Farming Lnstitute) เขาได้สังเกตุเห็นพืชผักที่อยู่ในนาและต้นไม้ข้างเคียงโรงหมักอาหาร จำพวก พืชผักผลไม้ ที่เรียกว่า "การทำกิมจิ" เจริญงอกงามได้ดี เขาจึงได้รวบรวมสิ่งที่สังเกตุได้และนำภูมิปัญญาของเกษตรกรเกาหลีไปเผยแพร่ โดยมีแนวคิดว่า การเกษตรที่พึ่งตนเองโดยใช้วัสดุเหลือใช้ในพื้นที่ ร่วมกับการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่น (ไอเอ็มโอ หรือ Indigeneous Microoganism : IMOs) จะช่วยลดต้นทุนการผลิต และทำให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ |
|
จะเห็นว่าเกษตรธรรมชาติของเกาหลีนั้น มีความแตกต่างจากเกษตรธรรมชาติของฟูกูโอกะ และเกษตรธรรมชาติคิวเซ ของโอกาดะ ในส่วนของการปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเกษตรธรรมชาติเกาหลีจะเน้นให้ใช้จุลิลนทรีย์ท้องถิ่นและวัสดุเหลือใช้ในท้องที่ เช่น รำข้าว มูลสัตว์ต่างๆ เพื่อนำมาหมักกับจุลินทรีย์ แต่ก็มีความใกล้เคียงกับวิธีการของเกษตรธรรมชาติคิวเซมาก เพราะใช้จุลินทรีย์เหมือนกัน แต่เป็นจุลินทรีย์ที่เก็บได้จากในป่าท้องถิ่นหรือในป่าชุมชนอนุรักษ์เอง โดยเน้นในเรื่องจุลินทรีย์จะมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ ทำให้จุลินทรีย์เจ้าถิ่นมีความแข็งแรงและรักษาความสมดุลย์ของระบบนิเวศในท้องที่นั้นได้ดีกว่า |
|
|
 |
|
|
หลักการทำ เกษตรธรรมชาติเกาหลี |
|
|
1. |
เข้าใจบทบาทของสิ่งมีชีวิตและทำงานร่วมกับธรรมชาติ คือต้องทำงานร่วมกับธรรมชาติเข้าใจกฏเกณฑ์ และบทบาทของ |
|
|
ธรรมชาติอย่างท่องแท้ผสมผสานกับสิ่งมีชิวิต เพราะทุกชีวิตต้องพึ่งพาอาศัยกัน ต้องยอมรับในบทบาทต่างๆ ในธรรมชาติแวดล้อม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติรอบตัวให้เหมาะสม |
|
|
|
|
2. |
รู้จักใช้สิ่งที่มีอยู่รอบๆ ตัวให้เป็นประโยชน์ เป็นการเน้นให้เห็นถึงการใช้วัสดุต่างๆ รอบตัวมาช่วยในการทำการเกษตร |
|
|
เพื่อให้ประหยัดต้นทุน ซึ่งหมายความรวมถึงการใช้จุลินทรีย์ ก็อาศัยการหมักดองจากจุลินทรีย์ในท้องถิ่น กับวัสดุเหลือใช้ในท้องที่ เนื่องจากเป็นจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมท้องถิ่นดีอยู่แล้ว ทำให้สามารถทำงานได้ดีที่สุด เกษตรเกาหลีจะไม่เน้นให้ใช้จุลินทรีย์ต่างถิ่นที่ต้องหาซื้อมาใช้เป็นการเพิ่มรายจ่าย |
|
|
|
|
3. |
ให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นการเน้นที่กระบวนการผลิตมากกว่าเหตุผลในการผลิต |
|
|
ไม่เน้นปริมาณการผลิต แต่ให้ใส่ใจต่อขบวนการแทน เช่น เมื่อเลี้ยงไก่ ก็ต้องเอาใจใส่ความเป็นอยู่ของไก่ให้ดีมีความสุข หากปลูกพืชผักก็ต้องดูและบำรุงรักษาดินให้ดีให้มีชีวิต ปลอดภัยต่อผู้บริโภคและผู้ผลิต เป็นต้น |
|
|
|
|
4. |
เชื่อในพลังธรรมชาติ และมุ่งเน้นการผลิตโดยคำนึงถึงคุณภาพ การทำเกษตรตามธรรมชาติต้องยึดมั่นในพลังของธรรมชาติ |
|
|
ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะในทางดีหรือทางร้าย โดยขึ้นอยู่กับตัวเกษตรกรเอง ทั้งนี้ต้องมุ่งไปที่การรักษาคุณภาพของการผลิตเป็นหลักซึ่งจะเกิดจากพลังของธรรมชาติในด้านดี โดยไม่เน้นปริมาณจนมากเกินไป |
|
|
|
|
5. |
ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ช่วยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองก่อน เกษตรกรต้องช่วยเหลือดูแลตามแต่เหมาะสม |
|
|
และใช้วิธีที่ถูกต้อง เช่น เมื่อมีแมลงเข้าทำลายพืชผลก็ต้องควบคุมที่ตัวอ่อนของแมลงโดยใช้กลไกธรรมชาติ หากวัชพืชเป็นปัญหาก็ต้องหยุดโดยการงอกของเมล็ดก่อน โดยการคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ เป็นต้น |
|
|
|
|
|
|
|
|
เกษตรธรรมชาติเกาหลี จะเน้นที่ให้ทุกสรรพสิ่งเป็นไปตามกฏเกณฑ์และบทบาทของธรรมชาติ การเลี้ยงไก่การเลี้ยงสุกร ก็ให้ความสนใจที่หลักการเจริญเติบโตของสัตว์แทนการดูแลอย่างทนุถนอม ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ และดูแลตามธรรมชาติ สัตว์เลี้ยงทุกตัวมีพลังชีวิตในการอยู่รอดอยู่แล้ว ควรดูแลตามความเหมาะสมเท่านั้นโดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก การปลูกพืชผักก็เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องไถพรวนดินให้ลึก ทำเท่าที่จำเป็น พืชควรจะสามารถเติบโตแก่งแย่งเพื่อเอาตัวรอดในธรรมชาติ เพื่อความแข็งแรงของพืชนั้นๆ และเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่ดีในอนาคตเอง เกษตรกรเป็นเพียงผู้ดูแลให้เป็นไปตามธรรมชาติของพืชพันธุ์นั้นๆ ก็เพียงพอแล้ว |
|
|
|
|
การทำเกษตรที่ ไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์ |
|
สำหรับไร่พอใจ เกษตรอินทรีย์..... ที่ไร่เราจะเน้นเรื่องการบำรุงดินให้มีชีวิต มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตขึ้นเองจาก มูลไก่ วัว หมู ร่วมกับซากพืชซากสัตว์ เช่น รำข้าว ฟางข้าว แกลบ ถ่าน ต้นหญ้า ต้นกล้วย หอย ปลา เป็นต้น โดยนำมาหมักกับน้ำอ้อยหรือกากน้ำตาลและที่จะขาดไม่ได้ก็คือหัวเชื่อจุลินทรีย์ ซึ่งจะมีการใช้แบบผสมผสานตามแนวคิดเกษตรธรรมชาติคิวเซ และเกษตรธรรมชาติเกาหลี โดยมีจุลินทรีย์ตัวหลักๆ ที่ใช้อยู่จะเป็นจุลินทรีย์สรรพสิ่ง จากโครงการ 1 ไร่ 1 แสน จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง และจุลินทรีย์ท้องถิ่นที่เก็บได้จากป่า |
|
|
รวมรูปภาพต่างๆ ของแนวคิด เกษตรอินทรีย์ที่ยั่งยืน |
|
 |
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|