ปฏิวัติเขียว
ยุคสมัยที่ หนอน นก หนู แมลง
เริ่มวิวัฒนาการ ฉลาดกว่ามนุษย์
|
 |
เรื่องและเรียบเรียงโดย ตุ๊แสนฤทธิ์ |
 |
|
|
|
ยุคปฏิวัติเขียว เป็นยุคที่คนไทยต้องการผลผลิต จากพืชผลเกษตรเป็นจำนวนมาก เช่น ข้าว ข้าวโพด ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มัมสัมประหลัง ฯลฯ เนื่องจากเป็นช่วงที่เศรษฐกิจของไทยเราตกต่ำอย่างแรง จึงได้เปิดประเทศเพื่อค้าขายกับพ่อค้าต่างชาติ มีการสนับสนุนให้ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ยาเคมี และเครื่องจักรในการเกษตร กันอย่างเต็มที่ เพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น โดยไม่สนใจผลเสียหายที่จะติดตามมา ซึ่งทำให้เกษตรกรเสพติดและสร้างปัญหามาจนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
อันที่จริงการปฏิวัติเขียว (The Green Revolution) ได้เริ่มเกิดขึ้นในซีกโลกตะวันตกก่อน โดยการนำของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นการทำเกษตรสมัยใหม่ (Conventional Agriculture) หรือเกษตรกรรมเคมี (Chemical Agriculture) ที่เน้นไปที่การเพิ่มผลผลิตให้ได้จำนวนมากๆ โดยการปรับปรุงพันธุ์พืช เพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้ปุ๋ยเคมี มีการนำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานมนุษย์และสัตว์ เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและทำงานได้ในปริมาณพื้นที่มากขึ้น จนถึงที่สุด ต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตรูพืช แมลง และโรคพืชต่างๆ อันเนื่องมาจากความบกพร่องในการปรับปรุงพันธุ์พืช ทำให้พืชพันธุ์ที่ปลูกมีความอ่อนแอต่อโรคและแมลง ซึ่งต่างจากพันธุ์พืชพื้นบ้าน ที่ผ่านการวิวัฒนาการของสายพันธุ์ ให้เข้ากับธรรมชาติท้องถิ่นมาอย่างยาวนาน
|
|
|
|
|
การปฏิวัติเขียว ของประเทศไทย |
|
แต่เดิมการทำเกษตรกรรมในไทยเรา เป็นเกษตรกรรมแบบพึ่งตนเอง เป็นการทำเกษตรเพื่อกินเพื่อใช้ หลังจากเหลือกินเหลือใช้จึงนำไปขาย มีวิถีแบบพึ่งพิงธรรมชาติ มีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ได้เน้นในการทำการเกษตรเพื่อนำผลผลิตไปเป็นการค้า การปลูกข้าว ก็ทำเพียงปีละครั้ง เกษตรกรต่างคนต่างมีความสุขมีวิถีที่พอเพียงตามธรรมชาติ และมีสุขภาพที่ดี ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลและอุดมสมบูรณ์ จนมีคำขวัญสำหรับประเทศสยามเราว่า "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์และความสุขของประชาชนในประเทศนี้
|
|
|
|
|
|
เกษตรกรรมเคมีหรือเกษตรสมัยใหม่ ได้เข้ามาในเมืองไทยเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2464 โดย ม.จ. สิทธิพร กฤษดากร "บิดาแห่งเกษตรกรรมสมัยใหม่ของไทย" เจ้าของคำขวัญที่ว่า "เงินทองเป็นของมายา ข้าวปลาซิของจริง" ได้ทำการทดลองปลูกด้วยตนเอง และมีวารสารเผยแพร่ความรู้ให้เกษตรกรไทย ชื่อวารสาร "กสิกร" ซึ่งยังพิมพ์ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
|
|
เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้ว กระแสการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก และการขาดแคลนอาหารที่จะเกิดขึ้นในอนาตค เป็นเรื่องเร่งด่วนมาก ที่นักวิชาการเกษตรทั่วโลกให้ความกังวล จนกระทั้งเป็นผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกา ทำการก่อตั้งสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute) หรือเรียกสั้นๆว่า IRRI (อีรี่) ขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ. 2502 มีสมาชิกเป็นประเทศที่ปลูกข้าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งทางสถาบันได้ทำการเก็บเมล็ดพันธุ์จากประเทศสมาชิก และได้นำมาทำการวิจัยปรับปรุงพันธุ์ขึ้นใหม่ เพื่อตอบสนองให้สามารถเพิ่มผลิตผลให้มีเป็นจำนวนมากและทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ และที่สำคัญตอบสนองต่อการใช้ ปุ่ยและยาเคมี |
|
|
|
|
|
การปฏิวิติเขียว เริ่มมีการรณรงค์อย่างเข็มข้นและจริงจัง ภายใต้การนำของรัฐบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 เรื่อยมาจนกระทั้งประมาณปี 2509 ทางราชการไทย ได้มีการนำเอาพันธุ์ข้าว ที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ จากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute) หรือเรียกสั้นๆว่า IRRI (อีรี่) ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวที่ตอบสนองต่อปุ๋ยและยาเคมี ให้ผลผลิตที่สูง และต่อมายังพัฒนาให้เป็นพันธุ์ข้าวอายุสั้น ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถปลูกได้ทั้งปี ปัจจุบันพันธุ์ข้าวพวกนี้ได้ถูกส่งเสริมเผยแพร่กระจายสู่เกษตรกรทั่วประเทศ และกำลังจะเป็นเครื่องมือในการสร้างความเสียหายให้กับ พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน สภาพแวดล้อม ระบบนิเวศน์ และเกษตรกรของประเทศอย่างรุนแรง |
|
|
ความเสียหายอย่างรุนแรงของ การปฏิวัติเขียว |
|
ในช่วงเวลาแรกๆ ของการรณรงค์ปฏิวัติเขียวทั่วประเทศ ส่งผลให้ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งได้สร้างนิสัยความง่ายๆ ในการใช้ปุ๋ยเคมี เพียงเดินไปที่ร้านเคมีก็มีปุ๋ยหว่านแล้ว และส่งเสริมความรุนแรงในการใช้สารเคมีเพื่อปราบศัตูรพืช เลยรวมไปถึงแมลงดีในแปลงเกษตร ให้แก่เกษตรกร ตลอดระยะเวลา 40 กว่าปีจนถึงปัจจุบัน ระยะเวลาได้พิสูจน์ให้เห็นแล้ว ถึงความผิดพลาดอย่างรุนแรงของการปฏิวัติเขียวในครั้งนั้น พื้นแผ่นดินไทยแทบจะเปลี่ยนจากอุดมสมบูรณ์กลายเป็นทะเลทราย คำว่า "ในน้ำมีปลาในนามีข้าว" จะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีกแล้ว เนื่องจากในดิน น้ำ อากาศมีแต่สารเคมีปนเปื้อน สัตว์และพืชต่างๆ หลายชนิดสูญพันธุ์ไปสิ้น พันธุ์ข้าว พืช ผัก พื้นบ้านสูญหายไปจากแหล่งเดิม วิถีชีวิตของชาวบ้านและเกษตรกรต้องเร่งรีบ เป็นหนี้สิ้นมากมายเพราะปัจจัยในการผลิตซึ่งเป็นต้นทุนเพิ่มขึ้น บางคนถึงกับขายไร่ขายนาหมดเนื้อหมดตัวไปเลยก็มี |
|
|
|
|
|
การผลิตหันไปเน้นเพื่อการค้าอย่างเดียว ความโลภเข้าครอบงำตัวเกษตรกรเนื่องจากการส่งเสริมของทางราชการและนโยบายต่างๆ ทำให้มีการบุกรุก ทำลายสภาพแวดล้อม เพื่อเร่งผลผลิตและจำนวนรอบในการปลูก สภาพแวดล้อมและป่าธรรมชาติ ถูกทำลายทั่วประเทศ ภูเขาทางเหนือของประเทศกลายเป็นภูเขาหัวโล้น เพื่อเปลี่ยนเป็นแปลงปลูกข้าวโพด มีการเผาทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคขัดขวาง ทำให้ทัศนีย์ภาพและภูมิประเทศเสียหายอย่างที่ไม่สามารถจะกู้กลับคืนมาได้ในเร็ววัน |
|
|
|
|
|
สภาพตัวเกษตรกรก็มีสภาพไม่ผิดกับความชำรุดของพื้นแผ่นดินเกษตร เนื้อตัวมีแต่กลิ่นสาบของยาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช สุขภาพร่างกายทรุดโทรม โรคที่ไม่เคยรู้จัก ก็เป็นกันทั้งหมู่บ้านเมื่อยามถึงสภาพที่ร่างกายหมดภูมิคุ้มกัน อาหารการกินที่ผลิตได้ก็ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมี เผื่อแผ่ไปจนถึงผู้บริโภค ที่ซื้อกินแต่สิ่งที่สวยงาม กลายเป็นโรคมะเร็งกันทั่วบ้านทั่วเมือง |
|
|
|
|
|
|
วิวัฒนาการของ ศัตรูพืช หนอน แมลง นก หนู |
|
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ที่ได้มีการปฏิวัติเขียวในไทย พร้อมได้นำปุ๋ยเคมีและสารเคมีปราบศัตรูพืช เข้ามาใช้ในการเกษตร จนพื้นดินของแปลงเกษตรกลายเป็นกรดอันเนื่องมาจากปุ๋ยเคมี ทำให้พืชผักแทบจะเจริญเติบโตไม่ได้ มีพืชผักวัชพืช บางชนิดที่ปรับตัวไม่ได้ก็ทยอยสูญพันธุ์ไป ในอากาศสภาพแวดล้อม ก็มีแต่ละอองของสารเคมี สัตว์หรือแมลงบางชนิด โดยเฉพาะแมลงดีในแปลงเกษตรก็ตายสูญพันธุ์ไปสิ้น แต่ก็มีแมลงบางจำพวกโดยเฉพาะแมลงศัตรูพืช ที่สร้างวิวัฒนาการตัวเอง ให้สามารถต่อสู้กับสารเคมีได้ ซึ่งเราจะได้ข่าวเป็นระยะๆ ที่มีศัตรูพืชบุกจู่โจมพืชไร่ สร้างความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง และยาวนาน เช่น การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว การระบาดของหนอนม้วนใบในนาข้าว และโรคระบาดในพืชผักผลไม้อีกเยอะแยะ เป็นต้น
|
|
|
|
|
|
ถึงแม้แมลง หนอน นก จะเป็นเพียงสัตว์ตัวเล็กๆ นับได้ว่าไม่มีมันสมองในการสั่งหรือควบคุมการทำงานของร่างกายเลย แต่มันก็ได้สร้างเป็นสัญชาตญาณ วิวัฒนาการจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นแมลงดีแมลงร้ายในแปลงเกษตร ต่างก็มีวิวัฒนาการเพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ทั้งนั้น เมื่อเกษตรกรมีการฉีดพ่นสารเคมี จะเห็นว่า แมลง นก หนู พวกนี้ โดยสัญชาตญาณ มันจะไม่เข้าใกล้ ไม่ทำรัง ไม่วุ่นวาย ให้เป็นที่รำคาญใจกับเกษตรกรที่เป็นเจ้าของ พืชผักที่ได้ จึงดูอวบอ้วน มีใบ มีผล และลูกที่สวยงาม แต่มนุษย์ในเมืองกลับชอบบริโภคกันนัก จึงเป็นที่มาของโรคมะเร็งร้าย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นทุกที่ ตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ที่ยังวิวัฒนาการป้องกันตัวเองไม่ได้ |
|
|
|
|
|
ผมเคยเห็นเกษตรกรหลายคน ที่ไม่ยอมกินสิ่งที่ตัวเองปลูก หรือบางครั้งก็แยกสิ่งที่ปลูกกินออกจากสิ่งที่จะปลูกไว้ขาย ตัวเขาเองยังไม่กล้าที่จะกินในสิ่งที่เขาปลูกเลย เกษตรกรบางคนเมื่อมานั่งพูดคุยใกล้ๆ กลิ่นเสื้อผ้ามีแต่กลิ่นสารเคมี ชนิดที่แมลงวัน ยุง ยังไม่กล้าเข้าใกล้ ศัตรูพืชและหญ้าในแปลงเกษตรในปัจจุบัน มีการวิวัฒนาการเพื่อต่อสู้กับสารเคมีเพื่อความอยู่รอดมาอย่างต่อเนื่อง ตัวเกษตรกรจึงต้องเพิ่มปริมาณการใช้สารเคมีขึ้น จนแทบจะเป็นการอาบให้พืชไปแล้ว ดังนั้นผู้บริโภคจึงถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญ หากยังเลือกหาซื้อพืชผักเหล่านี้มาบริโภคกัน ตราบใดที่ยังขายได้ เกษตรกรสารพิษสารเคมี ก็จะยังคงผลิตออกสู่ตลาดเรื่อยๆ ไป จนกว่าผู้บริโภคจะตระหนักได้ถึงพิษภัยและโรคร้ายที่จะตามมา และช่วยกันหยุดยั่งมัน |
|
|
|
|
|
|
 |
ความสำคัญของเกษตรอินทรีย์ |
|
 |
แนวความคิด ของการทำเกษตรอินทรีย์ แบบยั่งยืน |
 |
แล้วคำว่า "เกษตรอินทรีย์" มันคือการเกษตรอะไรกันแน่.... |
 |
ความสำคัญเกี่ยวกับ การทำเกษตรที่เป็นเกษตรอินทรีย์ 100 เปอร์เซนต์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|